บอดี้การ์ดหวาน "นายกฯหญิง"

Thursday, August 18, 2011



ด้วยหน้าตาและสำเนียงเสียงหวานๆ และนับเป็นครั้งแรกที่เราได้ยินเสียงลงท้ายประโยคให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีไทยว่า

"คะ...ค่ะ"

การมีบอดี้การ์ดนายกฯ เป็นผู้หญิง น่าจะช่วยขับภาพ "นายกฯหญิง" ให้ดูลงตัวเหมาะสมยิ่งขึ้น

"กอง ร้อยน้ำหวาน" จึงปรากฏชื่อเรียกขานขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อกองกำลังอารักขาและควบคุมฝูงชน จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงกองร้อยปราบจลาจลหญิง เข้าอบรม เพื่อเฟ้นบอดี้การ์ดหญิงเข้ามาดูแลความปลอดภัยให้นายกฯ หญิงใหม่แกะกล่อง ปู ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ขณะนี้อยู่ระหว่างฝึกอบรมปฏิบัติในหลัก สูตรอบรม "การขับขี่เชิงยุทธวิธี" ที่ศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัยฮอนด้า ต.สำโรงใต้ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ โดย พล.ต.ต.สมพงษ์ ชิงดวง ผู้บังคับการกองกำกับการอารักขาและควบคุม ฝูงชน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกหลัก สูตรอบรม "การขับขี่เชิงยุทธวิธี" และ "ผู้ช่วย-ครูฝึก ขับขี่ปลอดภัยฮอนด้า" ให้กับกองร้อยปราบจลาจลหญิง กองกำกับ การควบ คุมฝูงชน ฉายากองร้อยน้ำหวาน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงที่ผ่านการฝึกฝนเชิงยุทธ วิธี 120 คน

การ ฝึกภาคสนาม มุ่งเน้นเพิ่มทักษะยุทธวิธีการขี่จักรยานยนต์บนท้องถนน ทั้งการขับขี่ปลอดภัย จนถึงการไล่ล่า จู่โจม และหลบหนี โดยตำรวจหญิงที่เข้าฝึกอบรมแบ่งเป็น 3 รุ่น รุ่นละ 40 คน รวม 120 คน รุ่น 1 เริ่มวันที่ 3-5 ส.ค. รุ่น 2 วันที่ 15-17 ส.ค. และรุ่น 3 วันที่ 29-31 ส.ค.นี้

ทั้งหมดต้องผ่านการทดสอบทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อคัดเลือกเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงชุดนี้ให้เหลือเพียง 20 นาย บรรจุเป็นตำรวจอารักขาหญิง นายกฯ หญิง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

กองร้อย น้ำหวาน เริ่มเป็นที่จับตาเมื่อราวปี 2553 โดยกองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ คิดฝึกฝนตำรวจหญิงด้านการปราบจลาจล และวิธีการอารักขาบุคคลสำคัญทั้งไทยและต่างประเทศที่เป็นสตรี จึงเปิดรับสมัครบุคคลภายนอกที่จบปริญญาตรี มีอายุไม่เกิน 25 ปี เข้ามาสอบบรรจุ เมื่อเดือนต.ค.2553

เมื่อผ่านการฝึกฝนทักษะต่างๆ จะถูกส่งไปสังกัดในหน่วยปราบจลาจล (ปจ.) หญิง กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (อคฝ.) ซึ่งพล.ต.ต.สมพงษ์ ชิงดวง ผบก.อคฝ. เป็นผู้บังคับบัญชา โดยตำรวจปราบจลาจลหญิงรุ่นแรกนี้มีผลงานทั้งการดูแลความเรียบร้อยกลุ่มผู้ ชุมนุม ดูแลรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

ด.ต.ชาติ ชาย ภูมิพรหม เจ้าหน้าที่ครูฝึกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า กองร้อยปจ. หรือกองร้อยน้ำหวานนี้จะฝึกโดยรวมเช่นเดียวกับการฝึกของตำรวจชาย ไม่มีการอ่อนให้ และยิ่งต้องเพิ่มความกดดันให้มากกว่า แต่เนื่องด้วยสรีระและร่างกายของผู้หญิงจะมีเงื่อนไขเป็นตัวแปรทำให้บาง ครั้งใช้เวลาฝึกมากกว่าเดิม หรือให้รายละเอียดมากกว่าเดิม ในเรื่องความทนทานทางด้านสรีระผู้หญิงและผู้ชายอาจจะแตกต่างกัน แต่ถ้าเป็นการทำงานอารัก ขาบุคคลวีไอพีจะไม่ลดระดับความเข้มข้นของหลักสูตร แม้รูปร่างบางคนอาจจะอ้อนแอ้น แต่ก็แฝงไว้ด้วยความแข็งแกร่งเหมือนกัน

ด้าน ด.ต.มณเทียร ไม้สน อายุ 46 ปี ประจำกองกำกับการควบคุมฝูงชน 1 ผู้ดูแลเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงชุด ปจ. เล่าว่า เราฝึกทุกอย่าง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ทำได้ทุกหน้าที่ ไม่มีอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ชุมนุม ภารกิจหลักคืองานบริการบุคคลวีไอพี ตำรวจหญิงต้องทำได้เหมือนตำรวจชาย

"จุดด้อยของตำรวจหญิงชุดนี้ยังไม่ ค่อย เห็นเท่าไหร่ เราเริ่มฝึกมาตลอด การฝึกขับรถจักรยานยนต์เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและถูก กฎระหว่างปฏิบัติหน้าที่หากมีคำสั่งให้อารักขาระดับวีไอพีหญิงเราสามารถเข้า ไปทำหน้าที่ได้ ดีกว่า"

มาที่ผู้เข้าฝึกอบรมกันบ้าง ส.ต.ท.หญิงปิยะรัตน์ ภู่ทอง อายุ 24 ปี กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงทั้งหมดที่จะทำหน้าที่ชุดอารักขาวีไอพีจะส่งมาฝึกขับ ขี่จักรยานยนต์ทั้งหมด ถ้าทำได้ดีผู้บังคับบัญชาจะคัดตัวฝึกต่อ การอารักขาบุคคลสำคัญต้องมีไหวพริบปฏิภาณในการแก้ปัญหา ซึ่งหน้า

"สำหรับ นายกรัฐมนตรีหญิง การมีการ์ดหญิงจะดีกว่า อ่อนโยนมากกว่าในการปกป้องคุ้ม ครองดูแล เพราะมีความเป็นผู้หญิงเหมือนกัน" ส.ต.ท.หญิงปิยะรัตน์กล่าว

ส.ต.ท. หญิงปิยะรัตน์ กล่าวถึงการดูแลตนเองว่า "ในเรื่องความสวยงามจะแต่งให้ดูดี แต่ต้องไม่แต่งมากไป ต้องไม่พะวงกับเรื่องความสวยงามมากนัก เพราะเราต้องดูแลความเรียบร้อยต่างๆ คำว่ากองร้อยน้ำหวานคือชื่อเรียกผู้อารักขาที่เป็นผู้หญิง ชุดก่อนนี้เขาสร้างมาตรฐานมาดีอยู่แล้วพวกตนเข้ามาต้องทำให้ดียิ่งขึ้น การที่ประเทศไทยมีนายกฯ หญิงถือเป็นเรื่องดี ชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงก็ทำอะไรได้เหมือนผู้ชาย"

ด้าน ส.ต.ท.หญิงศุภลักษณ์ คะอังกุ อายุ 26 ปี เล่าว่า สอบบรรจุเข้ามาเพราะมีใจรักการเป็นตำรวจหญิง ซึ่งจะต้องอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ และต้องเข้มแข็งต่อสิ่งที่จะเข้ามา ถ้าได้เข้าทำหน้าที่การ์ดหญิงของนายกฯ ต้องสุภาพอ่อนน้อม ใช้คำพูดที่อ่อนโยนอ่อนหวานต่อคนที่เราอารักขาและคนรอบข้าง

"ส่วนการ แต่งตัวขอให้แต่งให้ดูดีเท่านั้น คงไม่ต้องแต่งมากมาย เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ สำหรับชื่อเรียกกองร้อยน้ำหวานนั้นใจจริงอยากให้เรียกว่าชุดปจ.หญิงมากกว่า เพราะคำว่าน้ำหวานจะดูอ่อนแอไป เพราะหน้าที่ของพวกเราต้องดูทะมัดทะแมงแข็งแรง บางครั้งต้องอ่อนหวานบางครั้งต้องเข้มแข็ง

การมีนายกฯ หญิงคิดว่าดีขึ้นเพราะปัจจุบันนี้กลุ่มผู้หญิงเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นส.ส.หญิง หรือพวกตนที่เป็นชุดการ์ดหญิง จะได้ช่วยดูแลนายกฯ หญิงเพื่อบ้านเมืองต่อไป"

ขณะที่ ส.ต.ท.หญิงสุพิศ คงแก้ว อายุ 26 ปี เล่าว่า ก่อนหน้านี้พวกตนผ่านการฝึกฝนการใช้อาวุธเพื่อนำยุทธวิธีต่างๆ มาใช้เมื่อมีเหตุจำเป็น คำว่ากองร้อยน้ำหวานนั้นบุคคลภายนอกอาจมองว่ากองร้อยนี้เป็นพวกผู้หญิง จะอ่อนแออ่อนโยนมากเกินไป ไม่สามารถทำหน้าที่การ์ดได้ แท้จริงแล้วพวกตนไม่ได้อ่อนแอ เพราะสมัยนี้ผู้ชายกับผู้หญิงเท่าเทียมกันอยู่แล้ว

"ส่วนตอนนี้ที่เรามีนายกฯ หญิง แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงมีความสามารถเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การที่ประเทศไทยมีนายกฯ หญิงคนแรกจะทำให้คนเห็นความสามารถของผู้หญิงเพิ่มขึ้น"
Share this article on :

0 comments:

Post a Comment

 
© Copyright 2010-2011 THAI NEWS All Rights Reserved.
Template Design by Herdiansyah Hamzah | Published by Borneo Templates | Powered by Blogger.com.